ยินดีต้อนรับสู่ weblog อาจารย์วรลักษณ์ ทองประยูร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้้เบื้องต้นในวิชาเศรษฐศาสตร์

ศ.1

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปสงค์ อุปทาน

Topic 2

ความรู้เบื้องต้นในเศรษฐศาสตร์

Presentation 1

เศรษฐกิจพอเพียง

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
อ่านต่อ

โครงการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป

โครงการสอนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป



รหัสวิชา 3591105      ชื่อวิชา เศรษฐศาสตร์ทั่วไป  (General Economics)


จำนวนหน่วยกิต3 หน่วยกิต 3(3-0-0)      อาจารย์ผู้สอน   วรลักษณ์     ทองประยูร

คณะ วิทยาการจัดการ                                       มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง


คำอธิบายรายวิชา        
            ศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อประกอบธุรกิจ   การจัดกาและใช้ทรัพยากร การบริโภค  การผลิต  ตลาด  สถาบันการเงิน  การลงทุน  ปัญหาเศรษฐกิจ และแนวทางการแก้ไขปัญหา

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงปัจจัยและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
            2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เรื่องหน้าที่และบทบาทของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม กลไกการ
    ทำงานและระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ
3. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงหลักการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งทางจุลภาคและ
    มหภาค        
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการ
    พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ              

เนื้อหาการสอน

สัปดาห์ที่
หัวข้อ
หมายเหตุ
1
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ

2
อุปสงค์ อุปทาน
3
ราคาดุลยภาพและการกำหนดราคา
4.
พฤติกรรมผู้บริโภค
5
ทฤษฎีการผลิต
6
ต้นทุนการผลิต
7,8
การตลาดและการกำหนดราคา
9
สอบกลางภาค
10
รายได้ประชาชาติ

11
การเงินการธนาคาร
12
เงินเฟ้อ เงินฝืด
13
การคลัง
14
การค้าระหว่างประเทศ
15
การพัฒนาเศรษฐกิจ
16
นโยบายทางเศรษฐกิจ
17

สอบปลายภาค



ลักษณะการเรียนการสอน

          1. การบรรยาย                            2. อภิปราย
            3. แบบฝึกหัด                             4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

การวัดและประเมินผล

คะแนนเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วม, ความสนใจ                  10 %
คะแนนรายงานและแบบฝึกหัด                                         20 %
สอบระหว่างภาค                                                            30 %
สอบปลายภาค                                                               40 %

เกณฑ์การวัดผล

A          85 – 100   คะแนน                     B+        75 – 84   คะแนน
B          70 – 74   คะแนน                       C+        6669   คะแนน
C          60 – 65     คะแนน                     D+        55 – 59   คะแนน
D          50 – 54     คะแนน                     E          0 – 49     คะแนน
           

เอกสารอ่านประกอบ

1. กฤตยา  ตติรังสรรค์สุข (2541) เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น.
2. จรินทร์  เทศวานิช (2537) หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กรุงเทพ
3. นราทิพย์  ชุติวงศ์ (2539) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค พิมพ์ครั้งที่ 3  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย
4. ประพันธ์  เศวตนันท์ (2541) เศรษฐศาสตร์มหภาค  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   กรุงเทพฯ
5. ประพันธ์ เศวตนันท์ และไพศาล เล็กอุทัย (2540) หลักเศรษฐศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 5
   โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรุงเทพฯ
6. ภารดี  ประเสริฐลาภ และคณะ (2521) เศรษฐศาสตร์จุลภาค สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต
    กรุงเทพ
7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (2534)  เศรษฐศาสตร์การผลิตและ
               การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (2540)  เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
              โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
9.  รัตนา สายคณิต (2535) พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย  
   กรุงเทพฯ
10. รัตนา  สายคณิต (2544) เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น    โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      กรุงเทพฯ
11. รัตนา  สายคณิต (2544) เครื่องชี้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค    โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
   มหาวิทยาลัย
12. สุรักษ์  บุนนาค  และวันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (2535) เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น มหภาค 
               บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช
13. สุกัญญา  และคณะ (2540) หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเชิงฝึกฝน
14. อภินันท์  จันตะนี (2536) เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง กรุงเทพฯ
15. Case, K.E. (2002) Principles of Economics Prentice – Hall Inc., New Jersey
16. Froyen (2001) Macroeconomics : An Asian Perspective
17. Heyne P.(2000) The Economic Way of Thinking, Prentice-Hale Inc.New Jesey
18. O’Sullivan (1998) Economics Principles and Tools
19. Walton (1998) Understanding Economics Today 6th ed.

โครงการสอนเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสอน
คณะวิทยาการจัดการ                                                                                                      มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
1. รหัสและชื่อวิชา       GE 5102        เศรษฐกิจพอเพียง    ( Sufficiency   – Economy )              จำนวน   3  หน่วยกิต
2. คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาความหมายของเศรษฐกิจ  การผลิต  การแลกเปลี่ยน  การตลาด  การบริโภค  ระบบเศรษฐกิจ  การพัฒนาตามแนวทางโลกาภิวัตน์  ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง  ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง   เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ  แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  กรณีตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย
3. อาจารย์ผู้สอน          อาจารย์วรลักษณ์       ทองประยูร                                  เบอร์ติดต่อ    081- 4856869      
    สถานที่ติดต่อ         คณะวิทยาการจัดการ  อาคาร  11  ห้อง  1137               Email : ppworaluk @gmail.com         
4. กิจกรรมการเรียนการสอน  
การบรรยาย   การมอบหมายงานเกี่ยวกับบทความหรือประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง   ให้นักศึกษาไป
ค้นคว้าข้อมูลจากตำรา  เอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึง สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต    แล้วนำมาร่วม อภิปราย 
ระดมสมอง   แสดงความคิดเห็น     การทำ แบบฝึกหัด   และ การไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
5. แผนการสอน

สัปดาห์ที่
เนื้อหาที่บรรยาย
หมายเหตุ
1
ทำความตกลงเกี่ยวกับการเรียนการสอน

2-3
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

4-5
การผลิต    การบริโภค   การแลกเปลี่ยน

6-7
การตลาด  อุปสงค์  อุปทาน  การกำหนดดุลยภาพของตลาด

8
สอบกลางภาค

9-11
การพัฒนาเศรษฐกิจ

12-14
เศรษฐกิจพอเพียง    ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ   การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง   แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย

15
การศึกษาดูงานนอกสถานที่

16
สอบปลายภาค


6. การวัดผล
                คะแนนระหว่างภาค                                                                              65            คะแนน
                สอบกลางภาค                                        20            คะแนน
                การทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน     20            คะแนน
                แบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย          15            คะแนน
                การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                    10            คะแนน
                คะแนนปลายภาค                                                                                  35            คะแนน
7. การประเมินผล
คะแนน 90 -100 ได้ระดับคะแนน  A      คะแนน 80 -89 ได้ระดับคะแนน   B+       คะแนน 70 - 79 ได้ระดับคะแนน   B
คะแนน 65 - 69 ได้ระดับคะแนน  C+      คะแนน 60 - 64 ได้ระดับคะแนน  C        คะแนน 55 - 59 ได้ระดับคะแนน    D+
คะแนน 50 - 54 ได้ระดับคะแนน   D      คะแนน 0 -  49 ได้ระดับคะแนน   E
8. เอกสารประกอบการสอน        เศรษฐกิจพอเพียง          วรลักษณ์      ทองประยูร                       

โครงการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค

โครงการสอน
คณะวิทยาการจัดการ                                                                                                          มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
1. รหัสและชื่อวิชา                     EC 5201        เศรษฐศาสตร์จุลภาค    ( Micro – Economics )           จำนวน   3  หน่วยกิต
2. คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของเศรษฐกิจ  ปัจจัยการผลิต  พฤติกรรมผู้บริโภค  พฤติกรรมผู้ผลิต  อุปสงค์  อุปทาน การกำหนดราคาในตลาดประเภทต่างๆ  การจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่ปัจจัยการผลิตในรูปแบบ  ค่าเช่า  ค่าจ้าง  ดอกเบี้ย  และกำไร  บทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจ
3. อาจารย์ผู้สอน                  อาจารย์วรลักษณ์       ทองประยูร                         เบอร์ติดต่อ    081- 4856869      
    สถานที่ติดต่อ   คณะวิทยาการจัดการ  อาคาร  11  ห้อง  1137                      Email : ppworaluk @gmail.com               
4. กิจกรรมการเรียนการสอน  
4.1  การบรรยาย   ค้นคว้าข้อมูลร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2  การทำแบบฝึกหัด   ค้นคว้าจากตำรา  เอกสารที่เกี่ยวข้อง สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต
4.3  การศึกษาดูงานนอกสถานที่
5. เนื้อหาที่ศึกษา
                1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์                           2.   อุปสงค์อุปทานดุลยภาพ
3. ความยืดหยุ่น                                                                     4. ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภค          
5.  ทฤษฎีว่าด้วยการผลิต                                                     6. ต้นทุนและรายรับจากการผลิต     
7.  การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขัน                                                                                                              
     สมบูรณ์และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
               
6. การวัดผล
                คะแนนระหว่างภาค                                                                                             60           คะแนน
                สอบกลางภาค                                                                       20           คะแนน
                รายงานกลุ่มและนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ                            15           คะแนน
                แบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย                                        15           คะแนน
                การศึกษาดูงานและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                 10           คะแนน
                คะแนนปลายภาค                                                                                                 40           คะแนน
                รวม                                                                                                                         100         คะแนน
7. การประเมินผล
                คะแนน 85 -100 ได้ระดับคะแนน     A                             คะแนน 80 -84 ได้ระดับคะแนน         B+
                คะแนน 70 - 79 ได้ระดับคะแนน       B                             คะแนน 65 - 69 ได้ระดับคะแนน        C+
                คะแนน 60 - 64 ได้ระดับคะแนน       C                             คะแนน 55 - 59 ได้ระดับคะแนน        D+
                คะแนน 50 - 54 ได้ระดับคะแนน       D                             คะแนน 0 -  49 ได้ระดับคะแนน          E
8. ตำราหลัก               เศรษฐศาสตร์จุลภาค          วรลักษณ์    ทองประยูร
9. ตำราอ้างอิง             หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค  รศ.วันรักษ์   มิ่งมณีนาคิน   จุลเศรษฐศาสตร์   นราทิพย์  ชุติวงศ์
                                      เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 ผศ. สมลักษณ์  สันติโรจนกุล